มนุษย์ทั้งหลาย ไม่มากก็น้อยคงต้องเคยเจอข้อหา “ขี้บ่น” จากลูกๆ ใครไม่บ่นถือว่ายอดคน ยอดคุณแม่ เพราะในแต่ละวัน มีเรื่องราวมากมายที่ชวนให้คุณแม่ต้องหงุดหงิดใจ แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้ว่า “การบ่น” ที่คุณแม่ต้องสูญเสียพลังงานมากมายมหาศาลในการพูดออกไปนั้น ไม่ได้ช่วยให้เด็กๆ (อันที่จริงก็ทุกวัย) มีพัฒนาการหรือรับรู้ความต้องการของคุณแม่ได้สักเท่าไหร่เลย
ทาไมการบ่นจึงไม่ได้ผล
เพราะการบ่นแตกต่างกับการเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้อย่างมาก ในเวลาที่เราบ่น เรามักจะพูดไปเรื่อยๆ จับโน่นโยงนี่เพื่อระบายออกซึ่งความรู้สึกหรืออารมณ์ไม่ได้อย่างใจของเรา ดังนั้นสารที่เราสื่อออกมาอย่างชัดเจนในการบ่นคือ “อารมณ์ไม่พอใจ” ในขณะที่เนื้อหาสาระนั้นผู้ฟังจะรับรู้ได้น้อยมากเพราะอารมณ์ขุ่นเคืองมันกลบความชัดเจนของเนื้อหา ลูกจึงรับรู้ได้ถึงอารมณ์ไม่พอใจมากกว่ารับรู้ถึงสิ่งที่คุณอยากให้เขาทาหรือฟัง นอกจากนี้ การบ่นมักจะเป็นการพูดซ้ำๆ ย้ำๆ วกวนและขาดความชัดเจน จะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่รู้ว่าแม่ต้องการอะไร ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการหรือความสัมพันธ์ระหว่างกันได้
ไม่บ่นแล้วให้ทำไง มาหาวิธีสื่อสารให้ลูกเข้าใจกันเถอะ
- สื่อสารด้วยความชัดเจน หากอยากให้ลูกทำอะไร ควรพูดกับเขาด้วยอารมณ์ปกติ และใช้ประโยคสั้นๆ ง่ายๆ เพื่อสื่อสารให้เขาเข้าใจว่าแม่ต้องการให้เขาทำอะไร อย่างไร มันดีกว่าการบ่นร่ายยาว จนผู้ฟังสับสนเพราะเขาไม่รู้ว่าคุณกำลังต้องการให้ทำอะไร
- เอาใจใส่และมีส่วนร่วมในการทำสิ่งนั้นๆกับลูก คุณแม่หลายท่านที่ต้องทำงานไปด้วย เลี้ยงลูกไปด้วยถึงเวลาก็บ่นให้ลูกไปทำโน่นนี่ โดยที่ตนเองนั้นไม่ได้หันไปมอง สบตา หรือชักชวนให้เด็กๆมาทำด้วย ซึ่งในเด็กเล็กนั้นการที่ขาดคนกระตุ้นอาจจะทำให้เขาขาดความกระตือรือร้นที่จะทำ ดังนั้น เมื่อคุณบอกให้ลูกเก็บของเล่น คุณต้องมองเขา สบตา ช่วยเขาเก็บและชวนให้เขาสนุกกับสิ่งที่คุณให้ทำ
- สื่อสารด้วยน้าเสียงที่ปกติ น้าเสียงนั้นส่งผลต่อการรับรู้อย่างมาก เมื่อคุณอารมณ์ดีน้ำเสียงเป็นปกติจะช่วยในการรับฟังได้ดี สำหรับเด็กเล็กๆ หากแม่ต้องการให้เขาทำอะไร ให้ใช้น้ำเสียงกระตุ้นให้เขารู้สึกตื่นตัวในการให้ความร่วมมือ เช่น มาเก็บของเล่นกันค่าลูก เอ้า ชิ้นที่1 ชิ้นที่ 2 … เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการอดใจไม่บ่นนั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่เป็นทักษะที่ต้องฝึก ดังนั้นหากเราอยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดี เป็นเด็กดีมีวินัยเชื่อฟังคุณแม่ ต้องเริ่มจากคุณแม่ที่ฝึกตนเองให้สื่อสารกับลูกได้อย่างน่าฟัง คิดจะฝึกลูกเราต้องฝึกตนเองไปพร้อมๆกันค่ะ